EveryThink visited More Than a Game!

EveryThink: Board Game เกมที่ให้มากกว่าแค่ความสนุก EveryThink: Board Game เกมที่ให้มากกว่าแค่ความสนุก.บรรยากาศของผู้คนที่รายล้อมอยู่รอบโต๊ะ บนโต๊ะที่มีกระดาน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ในการเล่น พร้อมส่งเสียงหัวเราะ พูดคุย หยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน คงเป็นภาพที่คุ้นตากันดีในร้านบอร์ดเกมคาเฟ่ อย่างร้าน More Than a Game Café เพราะที่แห่งนี้มีไว้สำหรับพบปะสังสรรค์ ทำความรู้จักกัน สร้างมิตรภาพใหม่ๆ หรืออยากใกล้ชิดคนข้างๆ ให้มากกว่าเดิมก็เริ่มจากการเล่นบอร์ดเกมด้วยกัน และกลายเป็นการสร้าง Community ใหม่ๆ ได้อย่างไม่รู้จบ. ถ้าบอร์ดเกมให้อะไรได้มากกว่าแค่ ‘ความสนุก’ คุณก็ไม่ควรพลาดโอกาสดีๆ ที่จะลองเล่นมันดูสักครั้งหนึ่ง….ติดตามรายละเอียดและสอบถามข้อมูลได้ที่ More Than a Game Café – Board game cafe ทั้ง 3 สาขา แอมพาร์ค สามย่าน เพลินนารี่มอลล์ วัชรพล และเออเบิร์น สแควร์ ประชาชื่น #EveryThink #BrandThink […]

5 บอร์ดเกมกับทักษะและกลยุทธ์ด้านธุรกิจ

โลกแห่งธุรกิจเปรียบเหมือนการเล่นเกมที่ท้าทาย ซึ่งเจ้าของธุรกิจต่างก็ต้องแข่งขันเพื่อเอาชนะคู่แข่งของตน ในบรรดาบอร์ดเกมปัจจุบันซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภท บอร์ดเกมที่มีธีมและทักษะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรงยังคงมีอยู่น้อย ถึงอย่างนั้นก็ตาม การพัฒนาทักษะสำคัญทางธุรกิจของคุณด้วยการเล่นบอร์ดเกมก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สร้างสรรค์ ซึ่งทั้งสนุก และเปิดโอกาสให้คุณได้พัฒนาทักษะและลองผิดลองถูกด้วยวิธีการใหม่ๆ และแตกต่าง โดยไม่ต้องกังวลกับความผิดพลาดล้มเหลวที่เกิดขึ้น เราขอแนะนำ 5 บอร์ดเกมที่ช่วยให้คุณได้ฝึกฝนทักษะด้านธุรกิจที่สำคัญ และยังได้สนุกพร้อมไปกับเพื่อนฝูงและครอบครัวของคุณอีกด้วย The Game Of Life The Game of Life เป็นบอร์ดเกมคลาสสิกสำหรับครอบครัวซึ่งมีที่มาที่ไปที่น่าสนใจ เกมนี้สอนเด็กๆ และครอบครัวในเรื่องแนวคิดพื้นฐานด้านการเงิน แม้ว่าจะมีการเปรียบเทียบเกมนี้กับเกมเศรษฐี (Monopoly) อยู่บ้าง แต่ The Game of Life มีจุดเด่นตรงที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้ลองเลือกเส้นทางชีวิตที่หลากหลายตามสถานการณ์จำลองของชีวิตจริง เช่น การเลือกอาชีพและการมีครอบครัว เป็นต้น เกมนี้ยังเป็นเครื่องมือที่สอนทักษะด้านการเงินได้อย่างยอดเยี่ยม เช่น ความสำคัญของอาชีพและการมีรายได้ เป็นต้น นอกจากนี้ เด็กๆ จะได้เข้าใจแนวคิดด้านการลงทุนและพลังของดอกเบี้ยทบต้นทางอ้อมอีกด้วย  Acquire เกม Acquire ถือเป็นเกมสุดฮิตขึ้นแท่นคลาสสิกอีกเกมเกี่ยวกับการลงทุนในกิจการเครือโรงแรมขนาดใหญ่ โดย ผู้เล่นจะสร้างเครือโรงแรมของตนด้วยการวาง Tile ลงบนกระดาน เมื่อ Tile 2 […]

Board game : 7-habits กับ board game mechanics – เขียนโดย ก๊อบแก๊บ

ในช่วงแรก ๆ ที่ได้มีโอกาสเล่นบอร์ดเกมมา ผมพยายามเลือกเล่นบอร์ดเกมที่มี กลไก หรือ mechanic ที่แตกต่างกันไป จะได้รู้ว่าแต่ละ mechanic นั้นมีผลต้อการเล่นของตัวเองอย่างไรบ้าง ยิ่งเล่นยิ่งรู้สึกว่า mechanic ต่าง ๆ ในบอร์ดเกมนั้นมีส่วนคล้ายกับ 7 habits ที่เราเคยเรียนมาไม่มากก็น้ อย เลยลองพยายามมั่ว ๆ ทำ mapping ระหว่าง 7 habits กับ mechanic ที่ใช้ในการเล่นบอร์ดเกมดูคร่าว ๆ Be Proactive – mechanic หรือ กลไกในการเล่นบอร์ดเกมที่มีลักษณะ Proactive เช่น Action/Movement Programming เกมที่มี mechanic ประเภทนี้ต้องวางการเดินหมากทีละตา แล้วอ่านเกมว่าผู้เล่นอื่นจะทำอะไรต่อไป เราควรจะต้องตั้งรับ ถ้ารอตั้งรับอาจจะทำให้ไม่ได้คะแนน หรือเสียคะแนนได้ ต้องตัดสินใจที่จะ proactive ในหลายสถานการณ์เพื่อที่จะไม่เสียคะแนน หรือเพื่อจะทำคะแนน ตัวอย่างเกมจำพวกนี้ได้แก่ Colt Express, […]

ข้อเท็จจริงอันน่าทึ่งของบอร์ดเกมคลาสสิค

ข้อเท็จจริงอันน่าทึ่งของบอร์ดเกมคลาสสิค บอร์ดเกมวัยเด็กที่เราชื่นชอบหลายๆ เกมสร้างขึ้นมาในรูปแบบแฟนตาซีอย่างดินแดนกระต่ายน้อยและสายรุ้ง  ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเกมจะมีตัวหมากหลากสีไว้เดินบนกระดานที่ตั้งใจออกแบบมาให้สมาชิกครอบครัวได้ใช้เวลาสร้างสรรค์ร่วมกันในยุคก่อนวิดีโอเกม  อย่างไรก็ตาม บอร์ดเกมคลาสสิคหลายๆ เกมมีต้นกำเนิดที่มีส่วนประกอบของความมืดมนในชีวิตหรือวีรกรรมหาญกล้าจนทำให้เราประหลาดใจได้มากทีเดียว เดอะเกมออฟไลฟ์​ (The Game of Life) – การฆ่าตัวตาย ความยากจน และการล้มละลาย เดอะเกมออฟไลฟ์​ (The Game of Life) เวอร์ชั่นปัจจุบันที่ึเราอาจเคยได้ยินชื่อหรือเคยลองเล่นกันมาบ้าง เป็นเกมในธีมการเดินทางของชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อกลายเป็นมหาเศรษฐี และได้ดำเนินชีวิตตามแบบความฝันของอเมริกันชน (American Dream) เกมนี้เป็นปาร์ตี้เกมที่น่าหลงใหล  ซึ่งเปิดโอกาสให้ครอบครัวและกลุ่มเพื่อนในทุกมุมโลกได้แชร์ประสบการณ์ ผ่านสถานการณ์จำลองของแต่ละบุคคลในทุกช่วงของชีวิต จากวัยเรียน วัยทำงาน แต่งงานและอาจมีลูก จนถึงการใช้ชีวิตวัยเกษียณ แต่การเดินทางของชีวิตก็ไม่ได้เป็นเช่นนี้เสมอไป เกมนี้มีอายุมากกว่า 150 ปีและยังมีรูปแบบที่แตกต่างออกไปมากจากเวอร์ชั่นปัจจุบัน  เป้าหมายของเกมไม่ใช่การเป็นมหาเศรษฐีหรือดำเนินชีวิตตามความฝันแบบอเมริกันชน แต่กลับเป็นเพียงแต่การใช้ชีวิตให้ดีที่สุดเท่านั้น ดังนั้น เกมจึงค่อนข้างจะเหมือนจริงมาก โดยประกอบด้วยความเสี่ยงจากความสิ้นหวังหรือหดหู่จากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันหลายๆ อย่างที่มนุษย์มีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญในชีวิต อย่าง “อาชญากรรม” “การล้มละลาย” “ความยากจน” หรือ “การฆ่าตัวตาย” เกมนี้สร้างขึ้นในปี 1860 โดยมิลตัน แบรดเลย์ ซึ่งกำลังประสบปัญหาชีวิตอันหนักหน่วงระหว่างที่เขาสร้างเกมอันโด่งดังนี้ขึ้น […]

Benefits of Board Games from a Parent’s Perspective

What better way to spend your family time together than playing a board game that can improve your child’s skills in many aspects? Playing games together with your family is not only a great way to spend quality time together, but you also build thinking and learning skills at the same time. Children adore being […]

These Classic Board Game Facts WILL BLOW YOUR MIND

If there’s one thing we’ve learned in our time here, it’s that there’s absolutely no cherished childhood memory that doesn’t have some dark and gritty origin story. But surely our childhood favorite board games sprang fully formed from the land of bunnies and rainbows, right? After all, they’re just a bunch of colorful squares on […]

Board game : WHY…Board Game? – เขียนโดย ก๊อบแก๊บ

หลายคนสงสัยว่าทำไมผมถึงหันมาเล่นบอร์ดเกมหรือเกมกระดานอย่างเมามัน แล้วมันมีประโยชน์อะไรนอกจากความสนุกสนาน ส่วนตัวผมเป็นคนที่ชอบเล่นไอ้เจ้าเกมกระดานหรือบอร์ดเกมนี่มาตั้งแต่เด็ก สมัยเด็ก ๆ จะได้เล่นเกมเศรษฐี, Scrabble, เกมรถถังประจัญบาน (คล้ายกับเกม Stratego) พอสมัยมัธยมต้นก็จับกลุ่มกับเพื่อนเล่นหมากรุกทั้ง Othello หมากรุกไทย หมากรุกฝรั่ง หมากรุกจีน และหมากรุกญี่ปุ่น (Shogi) ถึงขั้นขวนขวายไปหาซื้อหมากรุกญี่ปุ่นมาจากห้างไทยไดมารู ราชดำริ พอโตขึ้นเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อน ๆ ก็เอา Risk, Uno มาเล่นกันรวมถึงเกมยอดฮิตที่นิสิตชอบเล่นกันทั้งไพ่จับหมูและเลี๊ยบตุ่ย ผมกลับมาสนใจเกมกระดานอีกครั้งตอนที่มีลูกแล้ว พยายามสรรหาบอร์ดเกมมาให้ลูกเล่นอยู่หลายปี ทุกครั้งที่ไปเดิน Toys ‘R’ Us ก็จะเดินตรงรี่เข้าบริเวณที่ขายบอร์ดเกม แต่ก็จะไม่ค่อยเจออะไรเท่าไหร่นัก ที่ได้มาเล่นกับลูกก็มีพวก Zingo, Blockus เท่านั้น ต่อมาก็ไปได้ Mancula หรือที่เราเรียกกันว่าหมากขุม มาเล่นกับลูก ๆ  จนกระทั่งเมื่อประมาณ 2 ปีกว่าที่ผ่านมามีคนแนะนำให้รู้จักร้านบอร์ดเกม จึงชวนลูก ๆ ไปเล่นกัน สิ่งที่ได้มาพร้อมกับความสนุกสนานในการเล่นบอร์ดเกมก็คือกระบวนการเรียนรู้ จริง ๆ แล้วการเล่นบอร์ดเกมก็คือการเรียนรู้ ประเทศที่เล่นบอร์ดเกมมาก ๆ ก็คือเยอรมัน […]

39 Years of Spiel des Jahres

For 39 years Spiel des Jahres (Literally, ‘Game of the Year’ in German) has been awarded to games that German-speaking game critics find are the best games. They consider everything from game-play to box design, and have been credited with helping to fuel the ‘Euro-Game’ explosion that has become a world-wide phenomena over the last […]

ประวัติศาสตร์ของบอร์ดเกม ภาค 2

The Landlord’s Game – เกมเจ้าที่ดิน (ค.ศ. 1903) The Lardlord’s Game คิดค้นขึ้นโดยลิซซี่ แม็กกี้ (Lizzi Magie) หนึ่งในนักออกแบบเกมคนแรกๆ ของอเมริกา กระดานเกมจะมีช่องสี่เหลี่ยมเรียงเป็นแถวอยู่รอบนอก แต่ละช่องระบุอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ ไว้สำหรับให้ผู้เล่นเลือกซื้อ นอกจากนี้ ยังมีรางรถไฟ 4 ราง สาธารณูปโภค 2 อย่าง คุก 1 แห่ง และช่องตรงมุมกระดานที่มีข้อความว่า “แรงงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกล้วนมีค่าตอบแทนที่ต้องจ่าย” ซึ่งผู้เล่นต้องจ่ายเงิน 100 ดอลล่าร์เมื่อเดินผ่านช่องนี้ …. ฟังดูคุ้นๆ กันมั้ย แม็กกี้คิดค้นเกมและนำไปจดสิทธิบัตรไว้ในปีค.ศ. 1904 ซึ่งเธอพัฒนาและสร้างเกมโดยมีเป้าหมายในการจำลองให้เห็นถึงปัญหาการเข้าครอบครองที่ดินเพื่อหาประโยชน์ของนายทุน และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เอารัดเอาเปรียบผู้เช่า รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง โดยอ้างอิงจากแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของเฮนรี่ จอร์จ (Henry George) หรือลัทธิจอร์จ (Georgism) แม็กกี้ตระหนักว่าเป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจปัญหาการครอบครองที่ดินที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ควรทำเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว จึงคิดว่าถ้าถ่ายทอดแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของเฮนรี่ จอร์จ (Henry George) ออกมาในรูปแบบเกม […]